โซ่อาหารและสายใยอาหาร ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ สิ่งมีชีวิตหลายชนิดอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มของสิ่งมีชีวิตและมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน ทั้งในลักษณะพึ่งพาอาศัยกันในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การเอื้อประโยชน์ต่อกัน การแก่งแย่งแข่งขันกัน เป็นศัตรูต่อกันและที่สำคัญที่สุด คือเป็นอาหารซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดการถ่ายทอดพลังงานแก่กันในระบบนิเวศ โดยผ่านการกินกันเป็นทอดๆ ตามลำดับเรียกว่า โซ่อาหาร ( food chain) โซ่อาหารอาจจะสัมพันธ์กันอย่างสลับซับซ้อนในรูปของสายใยอาหาร ( food web) สายใยอาหาร หรือวัฏจักรอาหารนั้นจะบรรยายความสัมพันธ์แบบการกินกันในชุมชนนิเวศวิทยา นักนิเวศวิทยาสามารถรวบรวมรูปแบบชีวิตทุกชนิดอย่างกว้างขวางเป็นหนึ่งในสองหมวดหมู่ที่เรียกว่า ระดับหรือลำดับขั้นการกินอาหาร ได้แก่ 1) ออโตทรอพ ( Autotroph) คือ สิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารเองได้ โดยทำการผลิตอาหารขึ้นมาจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นแหล่งคาร์บอน และแสงหรือสารอนินทรีย์อื่น ๆ เป็นแหล่งพลังงาน สิ่งมีชีวิตประเภทออโตทรอพถูกจัดให้เป็น “ผู้ผลิต” ในห่วงโซ่อาหาร สีเขียวจากต้นเฟิร์นบ่งบอกว่าต้นเฟิร์นมีคลอโร...
เนื้อหาที่เรียนไปแล้ว
ความสัมพันธ์ในสิ่งแวดล้อม ความหมายของสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อม ( Environment ) หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมนุษย์ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งที่เป็นรูปธรรม (สามารถจับต้องและมองเห็นได้) และนามธรรม (ตัวอย่างเช่นวัฒนธรรมแบบแผน ประเพณี ความเชื่อ) มีอิทธิพลเกี่ยวโยงถึงกัน เป็นปัจจัยในการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ผลกระทบจากปัจจัยหนึ่งจะมีส่วนเสริมสร้างหรือทำลายอีกส่วนหนึ่ง อย่างหลีกเลี่ยงมิได้ สิ่งแวดล้อมเป็นวงจรและวัฏจักรที่เกี่ยวข้องกันไปทั้งระบบ ประเภทของสิ่งแวดล้อม แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1. สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ได้แก่ สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มี 2 ประเภท คือ 1.1 สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เป็นสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต เช่น อากาศ ดิน ภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเลสาบ มหาสมุทร เป็นต้น น้ำตก ภาพประกอบ น้ำ ตกที่ประเทศไอร์แลนด์ ทะเล ภาพประกอบ ทะเลที่รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เทือกเขา ภาพประกอบ เทือกเขาแอลป์ 1.2 ...
การเกิดดิน ดินเกิดขึ้นตามธรรมชาติจากการสลายตัวของหินและแร่ และการสลายตัวของสารอินทรีย์ โดยหินและแร่สลายตัวเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยได้ วัตถุต้นกำเนิดดิน ส่วนสารอินทรีย์สลายตัวได้ ฮิวมัส จากนั้นวัตถุต้นกำเนิดดินผสมกับฮิวมัส โดยมีพืชและสัตว์ช่วยให้กลายเป็นดิน ขั้นตอนของกระบวนการสร้างดินมี 2 ขั้นตอน คือ 1. กระบวนการสะลายตัว คือ กระบวนการที่สลายตัวผุพังของหิน แร่ ซากพืช ซากสัตว์ ได้วัตถุต้นกำเนิดดิน และฮิวมัสตามลำดับ 2. กระบวนการสร้างดิน คือ กระบวนการผสมคลุกเคล้าระหว่างวัตถุต้นกำเนิดดินกับฮิวมัสโดยมีพืช และสัตว์ต่าง ๆ ช่วยและบางครั้งเหตุการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ลม ฝน ก็ช่วยทำให้เกิดดินได้ ฮิวมัส คือ ซากพืชซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยอยู่ในดิน มีสีน้ำตาล เป็นอาหารของพืช ดินต่างถิ่นกันมีลักษณะต่างกัน เพราะดินเหล่านั้นมีถิ่นกำเนิดแตกต่างกัน เนื่องจากสภาพภูมิอากาศ สภาพภูมิประเทศ วัตถุต้นกำเนิดดิน กาลเวลา และส่วนผสมจากฮิวมัสของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ส่วนประกอบของดิน ส่วนประกอ...